วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Airhostess


ไหนๆก็วีคสุดท่้ายแล้วววว
มาดูกันว่าอาชีพแอร์โฮสเตสเป็นยังไงงงงง
อะไรยังไง
จะได้มารู้กันในบล็อคนี้
ซึ่งเป็นอาชีพที่ฉันใฝ่ฝันมากมายยยยยยย
ฉันจะต้องเป็นให้ได้
♥♥♥♥
เอาใจช่วยด้วยนะคะอิอิ
ก่อนอื่นเราก็ต้องมารู้คุณสมบัคิว่าจะไปเป็นได้อย่างไรกันก่อนนะคะ

คุณสมบัติที่จะนำไปสู่การเป็นแอร์โฮสเตส


--> คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ 

แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต เป็นอาชีพที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ฉะนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้ ยังควรมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น 
มีบุคลิกดี ยิ้มง่าย ใจเย็น อ่อนหวาน และต้องมีเชาว์ไหวพริบ กล้าตัดสินใจกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ผู้หญิงสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป ผู้ชายสูง 165 เซนติเมตรขึ้นไป รูปร่างสมส่วน ไม่อ้วนไม่ผอมจนเกินไป สายตาใช้การได้ดี ต้องไม่สวมแว่น แต่ถ้าสายตาสั้นเล็กน้อย หาคอนแทคเลนส์ใส่ได้ ส่วนเรื่องหน้าตา เน้นหน้าตารับแขกมากกว่าความสวยงามหรือสรุปเป็น ดังนี้

การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติการบิน
จาก การที่ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ลูกเรือ (Crew center)  ที่อาคารศูนย์ปฏิบัติการ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เห็นได้ชัดเจนว่า เน้นเรื่องความปลอดภัยอย่างรัดกุม และมีการเตรียมความพร้อมของพนักงานก่อนปฏิบัติการบินเพื่อการให้บริการอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะต้องมาถึงที่ศูนย์ลูกเรือ (Crew center) อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนเวลา Deperture Time ของเที่ยวบินเพื่อมาฟังการสรุปข้อมูล (Briefing) เกี่ยวกับ Emergency ขั้นตอนการบริการ รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการกำหนดหน้าที่การปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
คุณสมบัติของผู้สนใจสมัครตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
จำนวน อัตราที่ ต้องการรับสมัครในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และการกำหนดระยะเวลาการจ้างของพนักงานขึ้นกับนโยบายของบริษัท ส่วนข้อมูลคุณสมบัติเบื้องต้นที่มีการกำหนดที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้
คุณสมบัติทั่วไป
ผู้สมัครหญิง
- สัญชาติไทย สถานภาพโสด
- อายุไม่เกิน 26 ปี
- ความสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร และน้ำหนักต้องได้สัดส่วนกับความสูง
- สามารถว่ายน้ำได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 50 เมตร โดยต้องว่ายท่าฟรีสไตล์ได้ด้วย

ผู้สมัครชาย
- สัญชาติไทย สถานภาพโสด ผ่านหรือได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหาร ตามระเบียบของทางราชการแล้ว
- อายุไม่เกิน 28 ปี
- ความสูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร และน้ำหนักต้องได้ส่วนกับความสูง
- สามารถว่ายน้ำได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 100 เมตร โดยต้องว่ายท่าฟรีสไตล์ได้ด้วย

คุณสมบัติอื่น
- วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขา ผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีหนังสือรับรองการเทียบวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามาแสดงพร้อมกันด้วย
- ผ่านการทดสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษ Test of English for International Communication (TOEIC) 600 คะแนนขึ้นไป หรือ Test of English as a Foreign Language (TOEFL) 500 คะแนนขึ้นไป หรือ
- International English Language Testing System (IELTS) 5.5 คะแนนขึ้นไป ผลการทดสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษดังกล่าวต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
- มีความรู้ความสามารถในการพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และ หากมีความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษด้วย โดยเฉพาะภาษาจีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน ญี่ปุ่น และสเปน จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา
- สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่สวมแว่นสายตา
- มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ และรักงานบริการ
- มีบุคลิกภาพดีและเหมาะสมในการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน




--> การทำงาน 

การทำงานของแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้น เป็นเวลาที่ไม่แน่นอนไม่เลือกกลางวันหรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเที่ยวบินหรือสายการบินที่จะเดินทาง ว่าจะออกกี่โมงและในการเดินทางแต่ละครั้งทั้งสจ๊วต และแอร์โฮสเตสจะต้องกำหนดเวลาในการเดินทางไปสนามบินเผื่อไว้ทุกครั้ง โดยจะต้องเดินทางไปถึงสนามบินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมตัวและไม่ตกเครื่องบิน แอร์โฮสเตสและสจ๊วตจึงต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบอยู่สูง 



-->การเตรียมตัว

ภาษาอังกฤษเป็นหลัก วุฒิการศึกษาจบ ม.6 ทั้งสายวิทย์หรือศิลป์ แต่ 90% ของผู้สมัคร มักจบปริญญาตรีขึ้นไป อาจเพราะผู้ผ่านการศึกษาระดับนี้ มีประสบการณ์มากกว่า


ด้านสุขภาพที่อาจส่งผลในอนาคต



    เครื่องบินสมัยนี้ สะดวกสบายและทันสมัยจนผู้โดยสาร (ซึ่งมีเบาะนุ่มๆ รองก้นอยู่ด้วย) แทบจะไม่รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนขณะเครื่องบินลอยเท้งเต้งอยู่บนฟ้า  แต่แอร์โอสเตสและสจ๊วตซึ่งเดินไปเดินมา ถ้าไม่ถือกาใส่ชากาแฟหนักไม่ต่ำกว่า ๒ กิโลกรัม ก็ต้องเข็ดคาร์ดใส่อาหารและเครื่องดื่มมาเต็มอัตราจะรู้ว่า พื้นเครื่องบินมันไม่ได้อยู่นิ่งให้เดินเหินไปมาได้สะดวก งานบริกการบนเครื่องบินจึงเหนื่อยล้าง่ายกว่าบนพื้นปกติ
 ถ้าอยู่ๆ เครื่องบินสั่นหรือกระตุกขึ้นมาอย่างแรงโดยไม่มีการเตือน  พวกเขามีสิทธิ์ได้รับอันตรายอย่างยิ่ง ถ้าทรงตัวได้ก็อาจจะแค่น้ำหก ล้ม กระแทกนิดหน่อย  แต่บางคนโชคร้าย ถึงขนาดรถเข็นล้มทับขา  หนักหน่อยก็แค่ลอยขึ้นไปกระแทกเพดานบิน แล้วหล่นอั๊กลงมา
 สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับแอร์โฮสเตส แต่จะไม่เกิดขึ้นกับผู้โดยสารหากจังหวะนั้น ไม่ลุกขึ้นเดินไปเดินมา
 "ถ้าเทอบูแลนซ์หนักๆ เครื่องจะส่ายอย่างแรงเหมือนคลื่นยักษ์มา ทุกคนต้องนั่งอยู่กับที่ รัดเข็มขัด ไม่งั้นเราอาจจะจะลอยติดเพดานเหมือนเพื่อนเราเคยเจอ กาแฟร้อนๆ สาดโดนผู้โดยสาร แอร์ฯเจ็บตัว บริษัทก็ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลให้ผู้โดยสาร ถ้าเขาเข้าใจไม่ถือโทษก็ดี แต่บางคนก็ไม่เข้าใจ แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ เพราะการเทอบูแลนซ์มันไม่ใช่ความผิดของเรา" แอร์โฮสเตสสายการบินไทยเล่าเหตุเทอบูแลนซ์สดๆ ร้อนๆ ที่ฮ่องกงให้ฟัง












 เทอบูแลนซ์ (Turbulence ) คือการที่เครื่องบินตกหลุมอากาศเพราะอากาศแปรปรวน เกิดเมื่อไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความหนาแน่นของก้อนเมฆ  ปรกติเรด้าจะจับสัญญาณได้ นักบินก็จะประกาศเตือนว่าอีกสักครู่เครื่องจะตกหลุมอากาศ เครื่องจะสั่นสะเทือนเล็กน้อยไม่ต้องตกใจ หรือว่าต้องนั่งรัดเข็มขัดและเก็บของให้ดี หากรู้ก่อนล่วงหน้าอย่างนี้มักจะไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นแบบ  tower turbulence คือมีก้อนเมฆที่เป็นรูปแท่งเหมือนหอคอยอยู่ข้างหน้า ซึ่งเรด้าจับไม่ได้จึงจะไม่มีสัญญาณเตือน ถ้าเครื่องบินบินผ่านจะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาชน  ตึ้ง!! เครื่องจะสะบัดอย่างแรง ข้าวของอาจกระจุยกระจายได้  เพราะฉะนั้น เวลาทำงานแอร์โฮสเตสต้องตระหนักว่า อย่าไว้ใจเรด้าทั้งหมด อาจจะมีทาวเวอร์ เทอบูแลนซ์รออยู่ข้างหน้าก็ได้
 "เห็นฟ้าแลบแปลบๆอยู่ข้างนอกเราก็กลัวเหมือนกัน ท่องนะโมสุดฤทธิ์ แต่ปอดแหกให้ผู้โดยสารเห็นไม่ได้  ต้องทำให้เขามั่นใจว่ามันปลอดภัย อาจจะจับมือปลอบว่าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เดี๋ยวก็หาย เขาก็จะรู้สึกอุ่นใจขึ้น ทั้งที่บางทีเราก็รู้ว่ามันไม่ธรรมดาและเราก็กลัวเหมือนกัน"
ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจริงๆ เช่น ต้องเอาเครื่องลงจอดกะทันหัน แอร์โฮสเตสต้องรู้ว่าประตูมีทั้งหมดกี่ประตู  ถ้าจอดบนพื้นใช้ประตูไหน ถ้าจอดบนผิวน้ำต้องเปิดประตูไหน ถ้าเกิดไฟไหม้ มีควัน ต้องทำอย่างไร สมตติว่าผู้โดยสาร ๓๐๐ กว่าคน ลูกเรือ ๘-๑๐ คน ต้องเอาเขาพร้อมตัวเองออกไปอย่างปลอดภัยให้ได้ภายใน ๑ นาทีครึ่ง หากก็ต้องช่วยชีวิตเบื้องต้น เช่น  ผายปอด ปั๊มหัวใจ ทำคลอด ดามกระดูก ฯลฯ แอรโฮสเตสก็ต้องทำได้ด้วย  กรณีที่อาการหนักจริงๆ เกินกำลังที่จะช่วยได้ก็สามารถประกาศหาหมอหรือพยาบาลที่อาจจะโดยสารมากับเที่ยวบินนั้น ส่วนใหญ่มักจะโชคดีมีหมอหรือพยาบาลอยู่ด้วยเสมอ  แต่ถ้าไม่มีจริงๆ กับตันจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเอาเครื่องลงหรือไม่  และหากเป็นเหตุสุดสุดวิจัย ผู้โดยสารเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง แอร์โฮสเตสก็ต้องทำหน้าที่เป็นป่อเต็กตึ๊ง จัดการห่อศพ มัดให้เรียบร้อย
เราไม่มีตู้แช่เย็นก็ต้องใช้ผ้าห่มหลายๆ ชั้นพันศพไว้กันน้ำเหลืองซึมออกมา ระหว่างนั้นก็ติดต่อตำรวจสนามบินให้มารอรับ

    ด้วยเหตุนี้เองทั้งแอร์โฮสเตสและสจ๊วต จะต้องกลับไปเรียนเพิ่มเติมและทบทวนทั้งเรื่อง safety, emergency และ first aid ที่ศูนย์ลูกเรือทุกปี
เริ่มจะเห็นแล้วใช่ไหมว่า  อาชีพนี้ไม่ได้สวยงาม เลิศหรู แตยังมีอะไรที่เราไม่รู้ และแม้แต่แอร์โฮสเตสเองก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรรอยู่ข้างหน้าบ้าง


อนาคตที่รออยู่ข้างหน้า

 การต้องทำงานบนที่สูงซึ่งสภาวะอากาศไม่ปรกติ ทำงานไม่เป็นเวลา เวลากินก็ไม่ได้กิน เวลานอนก็ไม่ได้นอน แถมยังเดินทางข้ามทวีปเป็นว่าเล่น วันนี้อยู่กับอากาศร้อน พรุ่งนี้อยู่เมืองที่หิมะตก  สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ มากกว่าพวกเราที่ทำงานบนพื้นโลก  คนที่ทำงานเป็นแอร์โฮสเตสมาได้สักระยะหนึ่งจะเข้าใจคำพูดว่าที่ "นี่คืออาชีพขายสุขภาพแบบผ่อนส่ง" ได้ดี



 Jet lag คือ หรือภาวะเมาอากาศ ความอ่อนล้าของร่างกายหลังจากการบินเป็นระยะทางไกล ผ่านเขตแบ่งเวลาต่างๆ ทำให้ระบบร่างกายเกิดความสับสน รวนเร หรือน๊อคไปเลยนั่นเอง ปรกติถ้าเราเดินทางข้ามเขตแบ่งเวลา ๑ time zone เราต้องพักผ่อน ๑ วันให้ร่างกายได้พักฟื้นและปรับตัว 
 "ลูกเรือที่ปรับตัวไม่ได้ ไม่ชินอาจจะนอนไม่หลับ  โดยเฉพาะเวลาไปบินไฟล์ที่เวลาท้องถิ่นของประเทศเขาต่างกับบ้านเรามากๆ จากงานวิจัยเบื้องต้นเราพบว่าลูกเรือ ๖๐ เปอร์เซ็นต์เจอปัญหาคุณภาพการนอนไม่ดี ทำให้ร่างการอ่อนล้าสะสม ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ อีกมาก" ณนัควรรต บัวทอง ซึ่งทำกำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการนอนกับสุขภาพของอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินกล่าว  ในต่างประเทศมีงานศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำงานของคนอาชีพนี้อยู่มากมาย  แต่ในประเทศไทยแทบจะไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังเลยก็ว่าได้  จากการวิจัยเบื้องต้นของคุณอัฐซึ่งเก็บข้อมูลโดยตรงกับเพื่อนร่วมอาชีพด้วยกันเองนั้นพอจะสรุปได้ว่า โรคที่เป็นเหมือนเงาติดตามแอร์โฮสเตสและสจ๊วตมีดังต่อไปนี้
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ - โดยมารยาทถ้าผู้โดยสารและแอร์โฮสเตสจะใช้ห้องน้ำพร้อมกัน แอร์โฮสเตสให้ผู้โดยสาร (ไม่ว่าคิวยาวเท่าไร) ก่อน ยิ่งถ้าเป็นไฟล์ทที่สับสนอลหม่านอย่างไฟล์ทอินเดีย อยากเข้าห้องน้ำแค่ไหนก็ต้องกลั้นไว้ สภาพการณ์เหล่านี้เองทำให้โรคนี้มาเยือนแอร์โฮสเตสกันถ้วนหน้า
 กล้ามเนื้ออักเสบ -- เป็นปัญหาพื้นฐานที่แทบทุกคนจะได้เจอ เพราะต้องยกของหนัก กาของชากาแฟถือไว้นานๆ เป็นต้นเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบ
 โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นหวัด -- การต้องอยู่กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การบินข้ามทวีปบ่อยๆ ทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เต็มที่ เป็นผลให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดภูมิคุ้มกัน  รักจะทำอาชีพนี้ต้องรักดูแลสุขภาพและออกกำลังกายให้แข็งแรงพร้อมเผชิญกับสภาพอากาศที่ผีเข้าผีออกอยู่เสมอ เพราะถ้าเป็นหวัดขึ้นมาก็ไม่สามารถไปบินได้
 โรคมะเร็ง -- ต่างประเทศมีการศึกษาพบว่า ลูกเรือมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงมากกว่าคนอาชีพอื่นเพราะได้รับรังสีมากกว่าคนที่อยู่ข้างล่าง นอกจากนี้ เรื่องอาหารการกินที่ไม่มีสิทธิ์เลือกมากนักลูกเรือต้องพึ่งพาอาหารบนเครื่องที่ต้องเอาเข้าไมโครเวฟและยังทานแบบไม่เป็นเวลา การนอนที่ไม่สามารถกำหนดเวลาได้ ความเครียดจาการทำงาน ที่มีต้นเหตุจากทั้งผู้โดยสาร เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือแม้แต่ความเครียดเพราะต้องห่างบ้าน เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งทั้งสิ้น


ซลล์สมองเสื่อม -- คนที่ทำงานในเครื่องบินซึ่งต้องอยู่ในที่ๆ มีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าปรกติ มีความกดอากาศที่ไม่ปรกติ  ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน เป็นโรคขี้หลงขี้ลืมได้ง่าย
 โรคระบบการย่อยอาหาร ( Gastro Internal Reflux ) -- ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าแอร์โฮสเตสและสจ๊วตตอนอยู่บนเครื่องจะท้องป่องกันเป็นแถวๆ  ทั้งนี้ มีสาเหตุจาก ความกดอากาศ  การทานอาหารแบบรีบๆ ขณะปฏิบัติหน้าที่ทำให้อาหารไม่ย่อย และทานอาหารผิดเวลาอยู่เป็นประจำทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อนั่นเอง
 เยาวลักษณ์ นาคีสถิตย์  สมาคมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ศึกษาเกี่ยวกับอาชีวะอนามัยของลูกเรือ ให้ข้อมูลว่า  บนเครื่องบินนั้นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเพราะผู้โดยสารเดินทางมาจากทั่วสารทิศ เราไม่รู้ว่าใครเป็นโรคอะไรอยู่บ้าง แต่ต้องมาอยู่รวมกันในที่แคบๆ และภาวะอากาศไม่ปรกติทำให้เชื้อโรคต่างๆ วนเวียนอยู่ในนั้น
 "อุบัติเหตุหรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานมีสองแบบคือ unsafe action หมายถึงความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการกระทำของตัวเอง พูดง่ายๆ ว่าเกิดจากความประมาทนั่นเอง และ unsafe condition คือสภาพที่ไม่ปลอดภัย การทำงานบนเครื่องบิน มีความเสี่ยงตลอดเวลา  ทั้งจากแรงสั่นสะเทือน ประตูต่างๆ สามารถเปิดเองได้ถ้าไม่ล๊อคให้สนิทจริงๆ  เครื่องไม้เครื่องมือทีไม่เหมาะสม ทำงานในที่แคบ มีกับเวลาที่จำกัด เดี๋ยวก็ชนกัน เปิดของตู้นี้อาจจะตกลงหัวเพื่อนได้  นี่คือสภาพที่ไม่ปลอดภัย"
 ดูเหมือนว่าคนในอาชีพนี้จะไม่ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้กันสักเท่าไร สมาคมลูกเรือจึงเกิดขึ้นมาเพื่ออยากให้คนในวิชาชีพนี้ตะหนักในบทบาทและสิทธิของตัวเอง และสร้างภาพลักษณ์ให้กับสังคมทั่วไปได้เข้าใจว่า แอร์โฮสเตสไม่ใช่แจ๋วลอยฟ้า แต่งานของพวกเขาคือการดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร 

 "ปัจจัยที่เป็นอันตรายกับการทำงาน มีทั้งเรื่องทางกายภาพเช่น แสง เสียง ความกดอากาศ บางทีพวกเราอยู่บนเครื่องจะพูดเสียงดังโดยไม่เราไม่รู้ตัว  เรื่องสารเคมีที่เราใช้บนเครื่องบินเช่น สเปรย์และ ยาฆ่าแมลงทั้งหลาย อย่างไปประเทศอังกฤษ ออสเตรเลียฉีดยาฆ่าแมลง เพราะเขาไม่ให้แมลงต่างประเทศเข้าไป เราต้องเป็นคนฉีด เพราะฉะนั้นเราก็จะได้รับสารเคมีเหล่านี้สะสมอยู่ในร่างกาย เรื่องชีวภาพเช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อโรคต่างๆ ที่สะสมอยู่บนเครื่อง เรื่องอุปกรณ์การทำงานที่ไม่เหมาะ

ก็ประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ หวังว่าคงได้ประโยชน์กันไปไม่มากก็น้อย
คือว่าฉันก็ไม่ค่อยรู้ข้อมูล
เท่าไหร่หรอก
แต่ว่า
ฉันว่าฉันมีความสามารถพอที่จะเป็น
จากการที่กล่าวมาข้างต้น
แม้ภาษาจะไม่ได้ดีมากมาย
https://sites.google.com/site/mamixzer/kar-dulae-sukhphaph-khxng-xaer-hostes